ความเชื่อ “พระภูมิเจ้าที่”
คนไทยเรานับตั้งแต่อดีตมีความเชื่อว่าตาม ดิน น้ำ ภูเขา ต้นไม้ และอาคารบ้านเรือน
มีผีเจ้าที่เจ้าทาง ปกปักรักษาอยู่ บวกกับความเชื่อทางศาสนาพุทธ และพราหมณ์ฮินดู
ทำให้เกิดการพัฒนาพิธีการอัญเชิญผีเจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประทับในศาล
(ศาลพระภูมิ,ศาลเจ้าที่)
เพื่อปกป้องคุ้มครองดูแล รักษาสถานที่บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ให้มีความเป็นสิริมงคล
เจริญก้าวหน้าในทุกสถานจึงนิยมตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่
ในวันที่ปลูกสร้างบ้านเรือนใหม่
เจ้าพิธีผู้ทำพิธีกรรมตั้งศาลพระภูมิ นั้นเป็นได้ทั้งพระ, พราหมณ์, หรือฆราวาสที่ต้องเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม
ตามคติความเชื่อจากพิธีกรรมพื้นบ้านแต่เดิมมีความเชื่อทางพุทธศาสนา
และพราหมณ์ฮินดู
เข้ามาผสมผสานและนำไปพัฒนาเป็นพิธีกรรมพื้นบ้านเพื่อให้เกิดความขลัง
และศักดิ์สิทธิ์ขึ้น แล้วเปลี่ยนคำนำหน้าใหม่ให้ดูดีมีมงคลขึ้นจากคำว่า “ผี” ที่ดีมีคุณธรรม ให้เป็นพระ เช่น พระเสื้อเมือง
พระทรงเมือง หรือพระภูมิ เพราะนับถือว่าเป็นนั่นแม้จะเป็น ผีแต่ก็เป็น
ผีระดับชั้นสูง
เรื่องความเชื่อและการบูชาการตั้งศาลพระภูมิ
นำแนวคิดมาจากศาสนาพราหมณ์ฮินดูว่า พระอิศวร หรือพระศิวะทรงมีวิมานประทับอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุเปรียบประดุจมณฑลจักรวาลวิมานของศาลพระภูมิจึงต้องมีเสาเดียว
เปรียบประดุจเขาพระสุเมรุมาศวิมานของพระอิศวร
พระภูมิถือเป็นเทวดาชั้นหนึ่งเหมือนกัน
หากในความเชื่อของทางพระพุทธศาสนาก็จะเชื่อว่า พระภูมิเป็นเทวดาที่เรียกว่า “ภุมมะเทวดา” ที่อาศัยอยู่ตามเนินดิน
หรือซุ้มประตู หรือ “รุกขเทวดา”ที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้
ดังนั้นการตั้งศาลพระภูมิตามคติบ้านเรือนของคนไทยจึงมี “เสาเดียว”
ส่วนศาลเจ้าที่นั้นเปรียบเสมือนบ้านเรือนชาวบ้านธรรมดาจึงมี 4
เสาเทียบกันแล้วเหมือนการจำแนกการปกครองของเทพให้เป็นลำดับส่วนลงไปเหมือน
กำนันและผู้ใหญ่บ้าน ส่วนศาลที่อยู่ตามโคนต้นไม้,ทางสามแพ่งเป็นที่สิงสถิตของวิญญาณเร่ร่อนพเนจรจึงนิยมสร้างศาลให้มี 6 เสา หรือ 8 เสา
แทรกตรงนี้ไว้สักนิดหนึ่ง กรณีนี้การจำแนกแบบนี้
จุดประสงค์อีกประการอาจจะเป็นการง่ายต่อการจำแนกชนิดของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องการจะบูชาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นและแบ่งระดับของชั้นเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีความแตกต่างกัน
นอกจากนี้หากลองสังเกตดูการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้
จะต้องมีการกระทำอย่างถูกต้องตามแบบแผนและขั้นตอนให้เคร่งครัด เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย
การบวงสรวงเซ่นสังเวย
และการตั้งศาลพระภูมิจะกระทำเมื่อปลูกบ้านใหม่หรือย้ายที่อยู่
เพราะเชื่อว่าขั้นตอนการตั้งศาลจะเป็น “การขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้ออกไปจากบ้านแล้วจึงอัญเชิญเทวดาหรือพระภูมิมาสถิติที่ศาลพระภูมิเพื่อปกป้องคุ้มครองเจ้าบ้าน
และบริวารให้อยู่เย็นเป็นสุขมีความเจริญรุ่งเรือง” เพราะถือว่าพระภูมิเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งของบ้านที่คนในบ้านต้องให้ความเคารพ
เรื่องนี้เป็นเรื่องของความเชื่อที่มีมาแต่โบราณครับและทำกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษแล้วถือเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่งก็ว่าได้
อีกอย่างที่นิยมกราบไหว้บูชาก็คือ ผีบ้านผีเรือน
ทิศทาง การหันหน้าศาลพระภูมิสู่ทิศมงคล
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ทิศอีสาน เป็นทิศที่ดีที่สุด
ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นทิศที่ดีอันดับ 2
ส่วนประกอบสำคัญของศาลพระภูมิ
จะเหว็ดศาลพระภูมิ หมายถึง
รูปเทพารักษ์ที่ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิ
จะมีลักษณะเป็นรูปพระภูมิอยู่ในแผ่นคล้ายแผ่นเสมา มือขวาถือพระขรรค์
มือซ้ายถือถุงเงินหรือสมุด(หนังสือ)
และการปลุกเสกจะเหว็ดให้เป็นองค์พระภูมิมีดังนี้ บรรจุธาตุทั้ง 6 คือ
บรรจุพระพุทธคุณ,บรรจุพระธรรมคุณ,บรรจุพระสังฆคุณ ตลอดเทวคุณและวิญญาณธาตุเข้าไปในจะเหว็ด
พอจบพิธีจากที่เรียกว่า "จะเหว็ด" เมื่อปลุกเสกแล้วก็จะเรียกว่า
"พระภูมิ" บริวารของพระภูมิจะมี
ตุ๊กตาชาย-หญิง อย่างละ 1 คู่
ตุ๊กตาช้าง-ม้า อย่างละ 1 คู่
ละครยก 2 โรง
อย่างไรก็ขอทิ้งท้ายไว้สักนิดสำหรับใครที่คิดจะตั้งศาลพระ ภูมิไว้ในบ้าน
หากตั้งศาลพระภูมิอย่างถูกหลักตามนี้แล้ว
จะช่วยส่งผลให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ในศาลพระภูมิปกป้องรักษาคุ้มภัยคนที่อยู่ในบ้านได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.thaicontractors.com / http://horoscope.sanook.com/109813/